How smart are smart contracts : สัญญาอัจฉริยะแห่งโลกอนาคต

January 23, 2019

How smart are smart contracts : สัญญาอัจฉริยะแห่งโลกอนาคต

           ลองจินตนาการว่าในแต่ละครั้งที่เราทำสัญญาใดๆ ก็ตาม แต่ละฝ่ายต้องยินยอมตามข้อตกลงที่ระบุไว้
และลงนามลงบนเอกสารที่เป็นกระดาษ จากนั้นก็ต้องนำเอกสารไปยื่นที่หน่วยงาน กว่าแต่ละขั้นตอนจะเสร็จสมบูรณ์
ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหรืออาจหลายวัน และยังมีความเสี่ยงที่เอกสารจะถูกปลอมแปลงและสูญหายได้

           Smart Contract แปลตรงตัวเลยก็คือสัญญาอัจฉริยะ หลายคนคงสงสัยว่าแล้วมันอัจฉริยะยังไง?
สัญญานี้เกิดจากการเขียนโค้ดคอมพิวเตอร์ที่ระบุเงื่อนไขสัญญาให้มีผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามที่ระบุไว้
ข้อตกลงในสัญญาจะถูกบันทึกและบริหารจัดการได้เองอัตโนมัติด้วยคำสั่งของโค้ดคอมพิวเตอร์บน Blockchain และข้อมูลจะอยู่ในระบบดิจิทัลตลอดไป ซึ่ง Nick Szabo นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือผู้ริเริ่มนำ Blockchain มาประยุกต์ในการทำสัญญาอัจริยะเพื่อแก้ปัญญาเรื่องความปลอดภัยและการปลอมแปลงเอกสารแบบกระดาษ อีกทั้งยังเป็นเหมือนกุญแจปลดล็อกข้อจำกัดในการทำสัญญาแบบเก่าที่ไม่ต้องผ่านคนกลาง ทำให้ย่นระยะเวลาการทำสัญญาและลดต้นทุนที่ต้องเสียไปกับค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือการว่าจ้างพนักงานตรวจสอบเอกสาร Smart Contract จึงมีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ สัญญาอัจฉริยะนี้จึงถูกนำไปใช้ในการทำธุรกรรมหลายแบบ เช่น การซื้อขายรถยนต์ หรือธุรกิจประกันภัย

           ในต่างประเทศมีหลายองค์กรได้นำ Smart Contract มาใช้แล้ว หนึ่งในนั้นก็คือ Fizzy ประกันภัยการเดินทาง โดยผู้เดินทางเพียงกรอกรายละเอียดไฟล์ผ่านแอปพลิเคชันนี้ และจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเสร็จสิ้นก่อนการเดินทาง 5 วัน เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟลท์บินล่าช้าเกินกำหนด 2 ชั่วโมง ผู้เดินทางจะได้รับเงินชดเชยอัตโนมัติทันที ถ้าเป็นในระบบเก่าเราต้องกรอกแบบฟอร์มเคลมประกัน หรือส่งอีเมลติดต่อตัวแทน ซึ่งมีความยุ่งยากและกินเวลามากกว่าอย่างเห็นได้ชัด ส่วนในประเทศไทยนั้นมีผู้ริเริ่มให้บริการสัญญาอัจฉริยะแล้ว ด้วยระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ใน Blockchain ซึ่งผู้ใช้สามารถลงนามในสัญญาร่วมกับคู่สัญญาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

           แม้ว่า Smart Contract จะสามารถอุดรอยรั่วของสัญญาแบบเก่าได้ แต่ก็ไม่มีอะไรที่จะสมบูรณ์แบบโดยไม่มีข้อเสียเลย ในกรณีที่เขียนโค้ดผิดพลาดก็จะเกิดความเสียหายได้มหาศาล แม้กระทั่ง Vitalik Buterin ผู้สร้าง Ethereum Blockchain เองยังออกมาเตือนว่าไม่ควรทำสัญญาอัจฉริยะที่มีมูลค่าเกิน 10 ล้านดอลลาร์ ดังนั้นการศึกษาเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และสัญญาอัจฉริยะจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

Learn more >>  การชำระเงินระบบ EMV…ทางเลือกใหม่ผู้ใช้บีทีเอส

Share this article

Subscribe to InnoHub!

Stay updated and inspired

เรานำข้อมูลมาใช้เพื่อการส่งมอบคอนเทนต์และบริการอย่างเหมาะสม เราจะปกป้องความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Privacy Policy และคลิกสมัครเพื่อดำเนินการต่อ