คอนแทคเลนส์อัจฉริยะ บันทึกภาพได้แค่กระพริบตา

ธันวาคม 12, 2019

คอนแทคเลนส์อัจฉริยะ บันทึกภาพได้แค่กระพริบตา

           ถ้าพูดถึงกล้องขนาดจิ๋วที่ช่วยให้เราสามารถบันทึกภาพได้ด้วยสายตา ฟังยังไงก็ดูเป็นอุปกรณ์ที่มีจริงในภาพยนตร์ไวไฟหรือภาพยนตร์สายลับเท่านั้น แต่ในอนาคตเราอาจมีโอกาสได้ใช้งานเทคโนโลยีสุดล้ำชิ้นนี้ก็เป็นได้ เมื่อผู้นำเทคโนโลยีค่ายใหญ่ยักษ์ระดับของโลกไม่ว่าจะเป็น Google หรือ Samsung และทีมนักวิจัยในมหาวิทยาลัยชื่อดังต่างกำลังพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้สามารถใช้งานได้จริง โดยเรียกว่า คอนแทคเลนส์อัจฉริยะ หรือ Visual Wearables ซึ่งมีการคาดการณ์เอาไว้ว่า ตลาดของคอนแทคเลนส์อัจฉริยะทั่วโลกจะเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ จนมีมูลค่าสูงถึง 7.2 พันล้านดอลลาร์ ภายในปี 2023

           บริษัท Sony ได้ทำการจดสิทธิบัตรนวัตกรรมคอนแทคเลนส์อัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Piezoelectric (เพียโซอิเล็กทริค) ซึ่งทำงานโดยตรวจวัดค่าพลังงานกล ซึ่งในที่นี้ก็คือแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากการกระพริบตาเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าเอามาใช้จับระยะเวลาที่เรากระพริบตา เพราะโดยปกติแล้วมนุษย์จะกระพริบตาเป็นเวลาประมาณ 0.2 – 0.4 วินาที ดังนั้นเลนส์จะสั่งการถ่ายรูปต่อเมื่อเรากระพริบตานานเกิน 0.5 วินาทีเท่านั้น นอกจากนี้ คอนแทคเลนส์ของ Sony ยังมาพร้อมระบบปรับโฟกัสและปรับรูรับแสงแบบอัตโนมัติ รวมถึงยังซูมภาพเข้าออกได้อีกด้วยในส่วนของพลังงานที่ใช้จะมาจากการเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจากสมาร์ทโฟนหรือ คอมพิวเตอร์

           นอกจากประโยชน์ในการถ่ายภาพแล้ว Sony เองก็จะพัฒนาคอนแทคเลนส์นี้ให้สามารถแสดงผล AR ได้ ซึ่งหากทำได้สำเร็จก็จะถือเป็นการปฏิวัติวงการ AR Gaming อีกครั้งหนึ่งและทำให้เราสามารถใช้เทคโนโลยี AR และ VR ในชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น

           นอกจากนี้อีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีคอนแทคเลนส์อัจฉริยะ คือเพื่อนำไปใช้ในการแพทย์ บริษัท Sony มีเป้าหมายที่จะพัฒนาในคอนแทคเลนส์ชนิดนี้ให้สามารถทำงานเชื่อมต่อกับ AI เพื่อใช้ช่วยนำทางให้ผู้พิการทางสายตาได้อีกด้วย

           ในทางกลับกันแม้เทคโนโลยีนี้จะมีประโยชน์ในหลายๆด้าน แต่หากมีการนำมาใช้จริงก็อาจต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของมนุษย์มากยิ่งขึ้น เพราะ หากไม่มีมาตรการป้องกันหรือควบคุมการใช้งานที่เข้มงวดมากพอ เช่น หากคอนแทคเลนส์สามารถใช้แสดงผล แบบ AR ผู้บริโภคอย่างเราอาจถูกรบกวน ด้วยการโฆษณาแม้ในขณะที่กระพริบตาอยู่เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าในขณะนี้เรากำลังถูกบันทึกภาพด้วยคอนแทคเลนส์อัจฉริยะของคนอื่นอยู่หรือเปล่า หรือหากเทคโนโลยีนี้ถูกนำไปใช้เพื่อรุกล้ำข้อมูลส่วนตัวหรือบันทึกข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ก็อาจกลายเป็นเครื่องมือที่ไปส่งเสริมอาชญากรรมได้เช่นกัน เช่นเดียวกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งที่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคพึงระวังไม่ให้ถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือแสวงหาผลกำไรจนเกินควรอ่านเพิ่มเติม >> มองตาก็รู้ใจ(ลูกค้า) ด้วยเทคโนโลยี Eye-Tracking ในระบบ VR

Share this article

กดติดตาม InnoHub

เพื่อรับข้อมูลข่าวสารและแรงบันดาลใจด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ

เรานำข้อมูลมาใช้เพื่อการส่งมอบคอนเทนต์และบริการอย่างเหมาะสม เราจะปกป้องความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Privacy Policy และคลิกสมัครเพื่อดำเนินการต่อ