ประเทศไทยยุค 4.0 กับ Digital ID ที่จะเปลี่ยนอนาคตของการยืนยันตัวตน

November 27, 2018

ประเทศไทยยุค 4.0 กับ Digital ID ที่จะเปลี่ยนอนาคตของการยืนยันตัวตน

           เบื่อไหม? กับความยุ่งยากที่ต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชนหรือกรอกข้อมูลใหม่ทุกครั้งที่ต้องการยื่นเอกสาร แต่ในเร็วๆ นี้ทุกความยุ่งยากกำลังจะหมดไป เพราะกำลังจะมีบริการใหม่ชื่อคุ้นหูใครหลายๆ คน Digital ID นั่นเอง

           ใครที่สงสัยว่า Digital ID คืออะไร ขอเกริ่นคร่าวๆ ก่อนว่าคือ โครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้ในอนาคตมีการยืนยันตัวตนจากทุกภาคส่วนเข้ามาไว้ด้วยกัน ซึ่งไม่ได้มีแค่การเก็บข้อมูลจากบัตรประชาชน แต่ยังรวมไปถึงการเก็บลายนิ้วมือหรือใบหน้าที่ใช้สำหรับยืนยันตัวตนแทนรหัสผ่าน เพื่อช่วยลดความล่าช้าในการดำเนินการ หรือแม้กระทั่งการปลอมแปลงเอกสารเพื่อสวมสิทธิ์ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้ และประหยัดเวลาในการขอเข้ารับบริการจากภาครัฐและการทำธุรกรรมทางการเงิน

           หลายๆ คนอ่านมาถึงตรงนี้อาจเกิดคำถามที่ว่าเฉพาะสถาบันการเงินและภาครัฐเท่านั้นที่ได้ประโยชน์หรือเปล่า? ต้องขอบอกเลยว่าในอนาคต การพิสูจน์ยืนยันตัวตนผ่าน Digital Platform จะมีประโยชน์กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ต้องการพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลเพื่อการทำนิติกรรมสัญญา เช่น นาย ก. จะเปิดบัญชีใหม่กับธนาคาร B โดยนาย ก. ได้ทำการลงทะเบียนและให้ข้อมูลอัตลักษณ์เพื่อเปิดบัญชีไว้กับธนาคาร A. แล้ว ดังนั้นนาย ก. ไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่เมื่อมาเปิดบัญชีกับธนาคาร B ธนาคารสามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้เลย

           โดยมีหลายประเทศที่นำเทคโนโลยีนี้ไปใช้แล้ว เช่น สิงคโปร์ที่เคยเจอกรณีที่คาดไม่ถึง คือ ข้อมูลคนไข้กว่า 1.5 ล้านคนเกิดหลุดรั่ว หนึ่งในนั้นเป็นข้อมูลของนายก Lee Hsien Loong จนทำให้เกิดแนวคิดที่นำ Biometric มาใช้ระบุตัวตนเพื่อช่วยทำให้ข้อมูลปลอดภัยมากขึ้น ดีกว่าการไปใช้ password ปกติอย่างทุกวันนี้ ซึ่งในตอนนี้สิงคโปร์เปิดตัว SingPass Mobile มาช่วยแก้ปัญหาด้านความปลอดภัย ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงบริการ E-Government ต่างๆ ด้วยการสแกนลายนิ้วมือ ซึ่งปลอดภัยกว่า password ที่ถูกขโมยไปได้ง่าย

           ปัจจุบันหน่วยงานที่ดูแล Digital Platform ในประเทศไทยคือ บริษัท เนชั่นแนล ดิจิทัล ไอดี (NDID) ซึ่งได้เริ่มนำมาใช้จริงในบางภาคส่วนแล้ว และมีการร่าง พ.ร.บ. ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ
           – พัฒนาโครงข่ายระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ
           – กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล รวมทั้งกำกับดูแลผู้ให้บริการ
           – ยกระดับการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ

           ขณะนี้ได้มีมติเห็นชอบในการหลักการร่าง พ.ร.บ. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ในอนาคตจะพัฒนาเป็นอย่างไร และเพิ่มขีดแข่งขันของประเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 หรือไม่ ยังต้องติดตามกันต่อไป

Share this article

Subscribe to InnoHub!

Stay updated and inspired

เรานำข้อมูลมาใช้เพื่อการส่งมอบคอนเทนต์และบริการอย่างเหมาะสม เราจะปกป้องความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Privacy Policy และคลิกสมัครเพื่อดำเนินการต่อ