Quantum Computing จะทำงานร่วมกับ blockchain ได้จริงหรือ?

January 17, 2019

Quantum Computing จะทำงานร่วมกับ blockchain ได้จริงหรือ?

           เพราะโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน การเปลี่ยนแปลงในวันนี้อาจเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์กับมนุษย์อย่างเรา ซึ่งแต่ละอย่างได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจนในบางครั้งเราไม่สามารถตามทันได้ ในบางสิ่งบางอย่างก็จะถูกย่อให้มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่น คอมพิวเตอร์เชิงควอนตัม (Quantum Computer)
           “Quantum Computer” คำนี้อาจเป็นคำศัพท์ใหม่ของใครบางคน ต้องขออธิบายคร่าวๆ ก่อนว่า มันคือ การใช้หลักการทำงานของกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) ในการประมวลเพื่อให้ได้ความเร็วที่สูงขึ้นกว่าเดิม ลองนึกภาพ คอมพิวเตอร์ปกติใช้ “Bit” ในการนำเสนอค่า 0 หรือ 1 แต่คอมพิวเตอร์ระบบควอนตัมจะใช้ “Qubit” ในการนำเสนอค่า 0, 1 หรือทั้งคู่ได้ในเวลาเดียวกันแทน คุณสมบัติดังกล่าวทำให้ระบบควอนตัมคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างรวดเร็ว มากกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปถึง 100 ล้านเท่า จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของควอนตัมคอมพิวเตอร์ Google D-Wave 2X กับคอมพิวเตอร์พีซี และด้วยความเร็วและความแม่นยำของเทคโนโลยีนี้ ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีไม่ว่าเป็น Google, Microsoft, IBM หรือประเทศมหาอำนาจต่างๆ พร้อมทุ่มทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีนี้แบบจริงจัง
           ในยุคนี้การพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลที่เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ทำให้เล็งเห็นเทคโนโลยี blockchain ที่มีคุณสมบัติในการพัฒนารูปแบบการเก็บข้อมูลที่ไม่ผ่านตัวกลาง และมีการปกป้องข้อมูลอย่างดีเยี่ยม ซึ่งจุดเด่นนี้สามารถนำมาพัฒนาร่วมกับเทคโนโลยี Quantum Computing ที่มีความล้ำและรวดเร็วขึ้นมหาศาลแล้ว ในอนาคต blockchain อาจจะมีการพัฒนาและปรับตัวเพื่อที่จะสามารถทำงานร่วมกันกับ Quantum Computing ก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม จากความเร็วของ Quantum Computing จะสามารถถอดรหัสหรือโครงสร้างของ blockchain จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาระบบความปลอดภัยของข้อมูลควบคู่ไปด้วย

           ต่อยอดไปถึงการพัฒนาความแข็งแกร่งให้กับการปกป้องการเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมแบบดิจิทัล ทำให้มีการพัฒนาวิทยาการแจกจ่ายรหัส โดยใช้กลศาสตร์ควอนตัม Quantum Key Distribution (QKD) คือ ผู้ส่งและผู้รับสามารถตรวจจับได้ว่า กุญแจการเข้ารหัสถูกแอบดักฟังหรือเก็บข้อมูลโดยบุคคลที่สามหรือไม่ รวมถึงอีกคุณสมบัติจากคิวบิตที่ไม่สามารถคัดลอกตัวเองซ้ำได้ (no-cloning theorem) ทำให้บุคคลที่สามหรือผู้ไม่ประสงค์ดี ไม่สามารถเข้าไปคัดลอกข้อมูลได้ หากปราศจากกุญแจไขเข้ารหัส และระบบการแลกเปลี่ยนกุญแจผ่านช่องทางควอนตัม สามารถตัดการเชื่อมต่อถ้ามีคนดักฟัง ซึ่งนับว่าเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งในการปกป้องข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น

           เป็นไปได้ว่าการดึงคุณสมบัติเชิงกลศาสตร์ควอนตัมของ Quantum Computing อาจจะมีบทบาทมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงิน หรือการวิจัยต่างๆ ทั้งหมดนี้ เราต้องติดตามการพัฒนาเทคโนโลยี Quantum Computing และถ้าหากนำมาใช้ได้จริง เราต้องเตรียมความพร้อมทางด้านไหนบ้างสำหรับโลกอนาคต ต้องติดตามกันต่อไป….

เรียนรู้เพิ่มเติม >> จับตา FinTech Trend 2019

Share this article

Subscribe to InnoHub!

Stay updated and inspired

เรานำข้อมูลมาใช้เพื่อการส่งมอบคอนเทนต์และบริการอย่างเหมาะสม เราจะปกป้องความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Privacy Policy และคลิกสมัครเพื่อดำเนินการต่อ