‘หนูขออ่าน’ AI สัญชาติไทย ตัวช่วยอัจฉริยะในห้องเรียน

พฤษภาคม 10, 2019

‘หนูขออ่าน’ AI สัญชาติไทย ตัวช่วยอัจฉริยะในห้องเรียน

           ‘การศึกษาไทย’ ยังคงพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเริ่มนำเทคโนโลยีมารวมไว้อยู่ในห้องเรียน เทคโนโลยีเฉพาะที่จะมาช่วยพัฒนาเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียน (Learning Disability LD) ซึ่งมีจำนวนมากถึง 22.48%* เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนมีการศึกษาที่เท่าเทียมกัน

           โดยโปรเจคที่กำลังถูกจับตามองอย่างมากนี้มีชื่อว่า ‘หนูขออ่าน’ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) สร้างระบบโปรแกรมแบบทดสอบง่ายๆ ที่แม้แต่เด็ก 6 ขวบก็สามารถใช้งานได้ โดยใช้ระบบ AI วิเคราะห์ทักษะทางด้านการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน เพื่อทดสอบข้อบกพร่องทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่การอ่าน (Dyslexia) การเขียน (Dysgraphia) และการคำนวน (Dyscalculia) โดยการทำแบบทดสอบและวิเคราะห์ผลมีเวลาที่รวดเร็วประมาณครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งความแม่นยำสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ยิ่งไปกว่านั้น ระบบยังใช้ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดต่อยอดไปสู่การรักษาเพื่อฟื้นฟูทักษะให้ตรงจุด ออกแบบการเรียนการสอนที่แตกต่างกันออกไปสำหรับเด็กแต่ละคน

           ซึ่งโครงการนี้จะพัฒนาการศึกษาได้อย่างมาก เป็นมิตรและเข้าใจเด็กทุกคนมากขึ้น เพราะกลุ่มเด็กที่บกพร่องด้านการเรียน ไม่ได้หมายความว่าเขาสติปัญญาต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เพียงแต่พวกเขาจะมีวิธีการเรียนรู้ และเข้าใจเรื่องต่างๆ แตกต่างจากเด็กคนอื่นๆ แต่ในระบบการศึกษาที่ต้องสอนเด็กจำนวนมากพร้อมกัน ครูไม่ได้มีเวลาในการแยกสอนเด็กแต่ละคน กลุ่มเด็ก LD จึงมักจะถูกมองว่า ช้า ไม่ตั้งใจเรียน หรือแม้แต่เป็นเด็กมีปัญหา ซึ่งโครงการ ‘หนูขออ่าน’ นี้ อาจเป็นตัวช่วยสำคัญในการดึงศักยภาพของเด็กทุกคนออกมา

           Bangkok Bank Innohub มุ่งเน้นและสนับสนุนการขับเคลื่อนระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ จึงเป็นที่มาให้ธนาคารกรุงเทพ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดตัว Startup Ecosystem @TU เป็นพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ตั้งแต่นักวิชาการ และ Startup ทั้งในประเทศและต่างประเทศ คิดค้นสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาประเทศ… ไม่แน่ว่า Startup Ecosystem นี้ อาจสร้างนวัตกรรมสุดล้ำอะไรขึ้นมาต่อยอดเจ้า #หนูขออ่าน ต้องมาดูกัน!

*เก็บข้อมูลจากโรงเรียน 37 แห่ง ใน 8 จังหวัด (เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, แม่ฮ่องสอน, เชียงราย, พะเยา, แพร่, น่าน) จำนวน 1,379 คน ปี 2558

อ่านเพิ่มเติม >> AI Robot ครูผู้ช่วยคนใหม่ ทำอะไรได้บ้าง?

Share this article

กดติดตาม InnoHub

เพื่อรับข้อมูลข่าวสารและแรงบันดาลใจด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ

เรานำข้อมูลมาใช้เพื่อการส่งมอบคอนเทนต์และบริการอย่างเหมาะสม เราจะปกป้องความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Privacy Policy และคลิกสมัครเพื่อดำเนินการต่อ